- ลงทะเบียน
- คำแนะนำในการจัดทำบทความ
คำแนะนำในการจัดทำบทความ
ทุกท่านที่เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบ (1) นำเสนอผลงานภาคบรรยาย (ภาษาไทย) (2) นำเสนอผลงานภาคบรรยาย (ภาษาอังกฤษ) หรือ (3) นำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ) ให้จัดทำบทความตามคำแนะนำต่อไปนี้ (บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน) โดยจัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word- ชื่อเรื่องและชื่อผู้วิจัย
- การพิมพ์ชื่อเรื่อง ให้วางไว้ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ แบบคอลัมน์เดี่ยว เริ่มจากชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้แบบอักษร “TH SarabunPSK” ตัวหนา ขนาด 16 pts.
- ชื่อผู้วิจัย ให้พิมพ์ไว้ใต้ชื่อเรื่อง ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลโดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ตำแหน่งทางวิชาการ หรือสถานะของนักศึกษานักศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และอยู่กลางหน้ากระดาษ แบบคอลัมน์เดี่ยว ใช้แบบอักษร “TH SarabunPSK” ขนาด 14 pts.
- รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน สถานะ หลักสูตรที่กำลังศึกษา คณะ สถาบัน หมายเลขโทรศัพท์ E-mail ไว้ในเชิงอรรถหน้าแรก โดยใช้สัญลักษณ์ ใช้แบบอักษร “TH SarabunPSK” ขนาด 14 pts.
- การเขียนบทคัดย่อ
- ให้แสดงชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้จบอยู่ในหน้าแรกหน้าเดียว
- หัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องย่อย และเนื้อหา
- ใช้แบบอักษร “TH SarabunPSK” ตัวหนาขนาด 14 pts. สำหรับหัวเรื่องใหญ่ และใช้ตัวอักษรแบบปกติ ขนาด 14 pts. สำหรับหัวเรื่องย่อย
- การลำดับหัวข้อในส่วนของเนื้อเรื่อง ไม่ต้องใส่เลขกำกับ
- บทความต้นฉบับความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ ขนาด A4
- ระยะห่างก่อนขึ้นหัวเรื่องใหม่ ให้เว้น 1 บรรทัด (ช่องไฟ 14 pts.)
- ให้มีการอ้างถึงภาพหรือตาราง (ถ้ามี) ในเนื้อหา และให้แสดงภาพหรือตาราง (ถ้ามี) นั้น หลังจากหัวข้อเอกสารอ้างอิง โดยให้แสดงภาพตามลำดับให้หมดก่อน จึงแสดงตารางให้หมดตามลำดับ
- การเขียนสมการ
- สมการทุกสมการจะต้องมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ และเรียงลำดับที่ถูกต้อง ดังตัวอย่าง
a+b=c(1) - ให้เว้น 1 บรรทัดก่อนและหลังสมการ
- สมการทุกสมการจะต้องมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ และเรียงลำดับที่ถูกต้อง ดังตัวอย่าง
- การจัดทำกราฟภาพ
- ภาพจะต้องมีความชัดเจน
- ตัวอักษรทั้งหมดในภาพ จะต้องสามารถอ่านได้สะดวก และต้องไม่เล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อเรื่อง
- ภาพทุกภาพจะต้องมีหมายเลขกำกับ “ภาพที่ ...” และชื่อภาพ แสดงไว้ใต้ภาพ หมายเลขและคำบรรยายรวมกันแล้วควรจะมีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด เช่นในการบรรยายภาพ “ภาพที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินงาน”
- จัดภาพให้อยู่ท้ายเอกสารอ้างอิงตามลำดับ และให้เรียงลำดับภาพให้หมดก่อนจึงนำเสนอตาราง
- การจัดทำตาราง
- ตัวอักษรในตารางจะต้องไม่เล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อเรื่อง และควรมีกรอบตารางให้ชัดเจน
- ตารางทุกตารางจะต้องระบุ “ตารางที่ ....” และชื่อตารางกำกับเหนือตาราง ควรมีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด และเรียงหมายเลขตามลำดับ
- เพื่อความสวยงาม ให้เว้นบรรทัดเหนือคำบรรยายตาราง 1 บรรทัด และเว้นบรรทัดใต้ตาราง 1 บรรทัด
- จัดตารางให้อยู่ท้ายเอกสารอ้างอิง หลังการนำเสนอภาพตามลำดับ
- การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง
จะรวบรวมเฉพาะรายการที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายบทความจึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง โดยให้อ้างอิงตามแบบ APA- การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ให้ใช้การอ้างอิงแบบชื่อ - ปี โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง ตัวอย่างเช่น
อ้างไว้ข้างหน้าข้อความ :
ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์) ...............................................................................................................
อ้างไว้ข้างหลังข้อความ :
…………………………..........................………………………………………………. (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์) - การอ้างอิงท้ายบทความ เรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อผู้แต่ง
- หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. - บทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า. - บทความในหนังสือ
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ. (หน้า - ). ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. - วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา........สาขาวิชา........คณะ........สถาบัน........ - อินเตอร์เน็ต
ชื่อผู้เขียน. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ........วันที่ เดือน ปี........, จาก........URL……..
- หนังสือ
- การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ให้ใช้การอ้างอิงแบบชื่อ - ปี โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง ตัวอย่างเช่น
- การกำหนดระยะกั้นหน้าของเอกสาร
- กำหนดระยะกั้นหน้าเอกสาร 2.54 เซนติเมตร ทุกด้าน