ข่าว/ประกาศจากวิทยาลัย

ทำไมประเทศไทยต้องการ

ลงประกาศใน บทความจากอาจารย์ประจำเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2568

หนึ่งในเครื่องมือที่มหัศจรรย์ที่สุดของโลกนักพัฒนาองค์กรที่ผมศึกษามานอกจาก Appreciative Inquiry แล้วก็เห็นจะเป็น Theory U .. Theory U คิดโดยอ.อ๊อตโต้ชามเมอร์ .. เน้นการเปิดใจรับรู้ข้อมูลใหม่ๆเพื่อให้รับทบทวนความเชื่อสมมติฐานของเราเพราะเราไม่มีวันรู้ว่าปัญหาที่เราสร้างขึ้นอยู่ทุกวันทั้งๆที่เราไม่ต้องการให้เกิดมันอาจมาจากการที่เรามีความเชื่อหรือสมมติฐานไม่ถูกเช่นคนจำนวนมากอยากรวยแต่ทำไมจนเอาๆ  เราก็ดูเป็นคนดีถ้าไปดูก็จะเห็นว่ามันเกิดจากความเชื่อบางอย่าง 

theory U

Source: https://impacthubboston.net/Bo...

..เคยไปเจอรายหนึ่งชีวิตมีปัญหามากติดหนี้จากการไปค้ำประกันเพื่อนพอไปถามก็บอกว่า “ที่ไปค้ำประกันเพราะว่าเพื่อนถูกหักเงินเดือนจนไม่เหลืออะไรอยู่แล้ว  ถามไปถามมา..อีกบอกว่าที่ทำอย่างนี้เพราะ “ไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไรกลัวเพื่อนว่าเราไม่มีน้ำใจ”  

 

ญาติของลูกศิษย์เป็นครูสามีที่เป็นครูด้วยกันเอาบ้านไปค้ำประกันเงินกู้เพื่อนตอนก่อนเกษียณพอดีหมดตัวครับภรรยารู้ข่าวเป็นลมเส้นเลือดในสมองแตกตอนนี้ยังไม่ปรกติ

 

ในทางตรงข้ามลูกศิษย์ผมมีญาติมาขอกู้เงินตอนเริ่มรวยคุณพ่อเลยถามเอาไปทำอะไรล่ะเขียนแผนธุรกิจมาหน่อย ..ญาติคนนั้นโกรธเลิกคบไปเลยแล้วที่สุดก็หาเงินได้จากที่อื่นแต่ก็ไปเจ๊งในวลาไม่ถึงสองปี   เอาเป็นว่าตอนมาขอเงินนี่ยังไม่รู้จะเอาไปทำอะไรด้วยซ้ำน่ากลัวไหมอาจารย์ถ้าผมให้นะอาจารย์ป่านนี้ลูกผมไม่ได้เรียนหนังสือแล้ว  ไปต่อต่างประเทศไม่ได้แล้วผมมีความเชื่อว่าคนเราต้องรู้ว่าจะทำอะไรไม่รู้ว่าตัวเองจะทำอะไรโดยละเอียดนี่เป็นความเสี่ยงผมไม่เสี่ยงกับคนประเภทนี้แม้จะเป็นญาติกัน 

คุณเห็นฤทธิ์เดชความเชื่อไหม 

ความเชื่อจึงเป็นอะไรที่ทำให้คุณไปข้างหน้าก็ได้อยู่กับที่ก็ได้หรือจะถอยหลังก็ได้น่ากลัวไหมครับ 

 

ความเชื่อเมื่อเจอกับแรงกระตุ้นก็จะทำให้เกิดความคิดความคิดทำให้เกิดคำพูดการกระทำและผลของมันตามมานั่นเอง 

 

คำถามคือในสถานการณ์ต่างๆเราอยู่กับชุดความเชื่อแบบไหน 

 

ที่น่ากลัวสุดความเชื่อนั้นดูฝังลึกถ้าดีก็พร้อมจะทำให้เราสำเร็จได้ทันทีถ้าไม่ดีก็พร้อมจะทำให้เราเดือดร้อนได้อย่างสาหัสทันทีเช่นกัน

แล้วเราจะรู้จะปรับเปลี่ยนอย่างไร  Theory U เป็นคำตอบหนึ่งครับ 

ทำอย่างไรมาดูกระบวนการง่ายๆ 

คนเรามักจะพยายามทำอะไรพูดอะไรออกมาโดยใช้ความเคยชินเดิมชินกับการทำอะไรเร็วๆลองหยุดฟังฟังแบบไม่พยายามเปลี่ยนหรือสอนใครฟังมาก 

 

ถ้าหัดทำอย่างที่ผมทำในชั้นเรียนผมจะให้แต่ละคนลองนั่งฟังอีกคนพูดครึ่งชั่วโมงโดยไม่จดไม่ถามไม่แทรกแซงอะไรเลย 

 

มาดูที่แผนภาพนี่คือความลึกของความเชื่อ ...เห็นไหมครับถ้าเราใช้ชีวิตอย่างไม่มีการตรวจสอบ   

ถ้าเราไม่ตรวจสอบอะไร ไม่ทำอะไร เวลามาเจอเหตุการณ์อะไรก็ตาม สมองเราเหมือนคอมพิวเตอร์ มันจะดาวน์โหลดความเชื่อ (1) มาตัดสินแบบเร็วๆ ถ้าดีก็ดีไป (10)  ถ้าไม่ดีก็กลายเป็นทำลายล้างไป ..(9)

 

 

เซลล์ขายรถบริษัทหนึ่งสมับผมเรียนปริญญาเอก.. เดินที่ห้างจะไปซื้อ Toyota Vios ... ตอนนั้นรถเดิมใช้มานานจนไม่ไหวแล้ว ..เซลล์รู้จักว่าผมเป็นอาจารย์ม.ขอนแก่น ..ทักมาแต่ไกลเลย ..อาจารย์ภิญโญอย่างอาจารย์ต้อง Camry ตัว Top ...ครับผมเลยขอตัวกลับไปซื้อที่ศูนย์อื่นผมไม่มีตังค์รถ Camry จึงไม่ใช่ Priority ในช่วงนั้นเพราะต้องใช้เงินเรื่องการศึกษา ..นี่ไงครับความเชื่อเดิมไม่ฟังดีๆก่อนได้ผลมาทางทำลาย (9)

 

เห็นปรากฏการณ์ไหมครับดูจากหมายเลขเซลล์เห็นผมเลยดึงความเชื่อ (หมายเลข 1) ออกมา.. ตัดสิน Action เลยผลที่ได้คือไม่ใช่มันไปที่เลข 9 คือเราไม่สามารถสร้างสรรค์อะไรด้วยกันได้นอกจากจากกันมา

 

แต่ถ้าเซลล์เปิดใจฟังอีกนิดไม่กดดันผม (ตอนนั้นทำผมอายเลย)  เขาจะต่างออกไปเพียงเขาเปิดโอกาสหรือทำอะไรก็ได้ให้ผมพูดถึงปัญหาของผมแบบไม่ต้องยัดเยียดเราเรียกว่าการห้อยแขวน (2) 

 

แล้วเขาจะเห็นกับตา (3) เองว่าผมยังมีปัญหาไม่พร้อมจะซื้อรถใหญ่  เขาจะหยุดความคิดเดิมไปก่อน (4) แล้วเขาจะค้นพบว่างานของเขาคืออะไรนั่นคือเขาต้องขายรถ Vios ที่ดีที่สุดเงื่อนไขที่ดีที่สุดให้ผมครับ .. (5) เซลล์จะเริ่มเปิดรับความคิดใหม่อาจเห็นโอกาสเพิ่มอีกว่าคนมีอนาคตบางวัยต้องการรถถูกก่อนคุณต้องไปหาพวกนี้มาหารถให้เขาแล้วรอขายรถแพงกว่าในอีกสองสามปีข้างหน้าได้เลย  (6) แล้วเริ่มมามองเห็นว่าผมต้องการอะไรหรือสร้างวิสัยทัศน์ร่วมไม่พอครับยังอาจเห็นโอกาส Segment ใหม่ๆที่อาจนำไปสู่การวางแผนการตลาดใหม่  (7)  ก็จะนำมาสู่การวางแผนซื้อรถครั้งนั้น  (8) ที่สุดผมก็ได้รถด้วยความรักเซลล์รายนั้นเพิ่มขึ้นและในที่สุดไม่กี่ปีพอผมจบผมก็คงกลับมาที่นี่แล้วมองหาเซลล์คนนั้นเพื่อซื้อรถตามเศรษฐฐานะของผมที่มากขึ้นต่อไปไปที่ 10 เลย...   

 

จาก 1 ไป 9 มักทำให้คนเก่งๆเกิดปัญหาไม่ต้องพูดถึงคนทั่วไปครับเราต้องค่อยๆมามองมาลองหัดทำ Theory U กัน ...ง่ายๆครับฟังมากๆตอนแรกๆก็สักครึ่งชั่วโมงหัดฟังใครก็ได้คนรักพ่อแม่แล้วค่อยขยายไปในงานฟังมากๆอย่างเพิ่งรีบสอน  

 

แต่บางทีเราฟังอะไรมากๆแล้วเราจะเบลอวิธีการง่ายๆคือลองสรุปว่าที่คุณฟังมาทั้งหมดคุณปิ๊งเรื่องอะไร ..เรื่องที่คุณปิ๊งจะทำให้คุณเห็นความเชื่อเดิมมาจนถึงตัวคุณคืออะไรงานคุณคืออะไรและวิสัยทัศน์ใหม่ขึ้นมาเอง ..  ไม่ถนัดอาจจดเอาก็ได้แต่ตอนฟังฟังอย่างเดียวอย่าจด

 

คุณจะก้าวจากหนึ่งไป 10   ทันที 

 

ลูกศิษย์ผมเรียนจากผมเป็นเจ้าของโรงงานสร้างรถไถเดินตามส่งไปที่ลาว  หลังเรียนกับผมก็รู้สึกได้ว่าเขาอาจมีอะไรบางอย่างที่ทำได้อีกเลยไปฟังลูกค้าชาวลาวที่เวียงจันทร์พูด  ปรกติเขาจะพยายามขายพยายามพูดคราวนี้เปลี่ยนมาพยายามฟังสังเกตที่สุดก็เห็นกับตาครับว่าคนลาวบ่นว่าเครื่องจักรที่ส่งจากไทยจีนเวียดนามไปขายที่ลาวนั้นใช้ยากเพราะสูงมาก ...เอาใช่เขาอยู่กับความเชื่อเดิมมาตลอดคือผลิตสินค้าโดยใช้สรีลระคนไทยเป็นหลักนี่มันนำไปสู่การที่ลูกค้าใช้งานไม่สะดวก (9)  เลยหันกับมาดูงานตนเองแล้วไปปรับเปลี่ยนความสูงของรถไถใหม่คราวนี้ยอดขายสูงขึ้นปรี๊ดในเวลาไม่กี่เดือน  

 

 

 

ล่าสุดมีโอกาสไปฟังคุณแม่ท่านหนึ่งเล่าเรื่องลูกที่ไปอยู่กับคุณยาย..คุณยายโหดมากวันหนึ่งมีครูข้างบ้านมากระซิบว่าหลานชายหลับเลยปลุกขึ้นมาด่าและตีไม่พอโกรธหลานบอกว่าหลานไม่เชื่อฟังเลยเอาลูกหมาของหลานใส่ถูงพลาสติกปิดปากถุงโยนทิ้งถังขยะหลานถึงกลับช๊อกและเข้าโรงพยาบาลจิตเวชไปเลยด้วยอาการพยายามฆ่าตัวตาย 

 

ไม่รู้ทั้งครูและย่าดาวน์โหลดข้อมูลอะไรมาดูเหมือนไม่มีใครฟังใครไปเลยไปที่เลข 9 คือลงนรกทั้งบ้านตอนนี้ไม่มีความสุขอีกเลย

กลับกันลูกศิษย์ผมคนหนึ่งบ่นเรื่องลูกมาเรียน Theory U กับผมเลยกลับไปฟังลูกเล่าครึ่งชั่วโมงกลับได้ยินสิ่งไม่เคยได้ยินมาตลอดคือลูกชอบอะไรบ้างเขาตกใจที่แทบไม่มีไอเดียเลยว่าลูกชอบอะไรมัวแต่ดุว่า ..ที่สุดเลยรู้ว่าจะสนับสนุนลูกไปทำอะไรเลยมาวางแผนร่วมกัน ...ผลคือ “อาจารย์คะเทอมต่อมาเกรดเธอทะลุจาก 3.2 เป็น 3.9” ตอนนี้เจ้าเด็กกบฏนี้ไปเรียนต่อที่อังกฤษ  ทุกคน Happy

มาเรื่องงานบริหารที่อินเดียเจ้าของวิทยาลัย Barefoot College ที่ไปตั้งโรงเรียนการศึกษาทางเลือกให้ชาวบ้านอยู่ในรัฐทะเลทรายเจอปัญหาคืออยากปลูกต้นไม้  เลยไปถามเพื่อนนักวิชาการทางการเกษตรและป่าไม้โดยให้ลงมาดูพื้นที่ทุกคนบอกว่าปลูกอะไรไม่ขึ้น  แกเลยไปถามชาวบ้านแถวนั้นซึ่งไม่จบปริญญาอะไรสักใบอ่านหนังสือยังแทบไม่ออกชาวบ้านก็มาดูให้และบอกว่าตรงนี้ต้องปลูกอันนี้ตรงนั้นต้องปลูกต้นนี้ที่สุดเขียวชอุ่ม ..

นี่ก็ฤทธิ์ของความเชื่อที่มาจากความรู้เดิมๆ  

เอามาใกล้ตัวสุดสมัยสัก 10 ปีที่แล้วทุกคนจะถือมือถือ Blackburry ...ลูกศิษย์ผมมีทั้งนั้นผมเองยังไม่มีปัญญาซื้อ . แต่อยู่ดีๆ เจ้ามือถือยี่ห้อนี้ก็หายไป ทำไมมันหายไปครับ ...ว่ากันว่ามาจากความเชื่อนั่นเอง 10 ปีก่อน Blackburry กำลังครองโลกด้วยผลิตภัณฑ์ล้ำที่สุดเงินทุนมหาศาลวิศวกรชั้นเยี่ยมนับหมื่นๆอยู่เบื้องหลังเครื่องจักรมหัศจรรย์ที่ทำให้ผมที่ตอนนั้นต้องหาเงินมาซื้อนมลูกไปเรียนปริญญาเอกไปมองตาปริบๆ ..แต่จู่ๆก็เริ่มมี Apple Iphone ออกมา...  จำได้ว่าผู้บริหารสูงสุดของ Blackburry ยุคนั้นออกมาให้สัมภาษณ์ว่า Iphone ไปไม่รอดแน่เพราะแบตใช้งานได้สั้นมากๆคนเราใช้มือถือในการทำงานบางทีต้องเดินทางสองสามวันการทำมือถือไม่ควรมี App หรือสีสันต์อะไรมากที่ทำให้กินพลังงาน 

นี่คือความเชื่อที่ทำให้ Blackburry ประสบความสำเร็จมือใหม่นี่ไม่ดูตัวอย่างบ้างหรือไร

Steve Jobs เลยออกมาจัดเต็มบอกสาวกว่า.. “ใจเย็นๆสาวกทั้งหลาย Iphone ยังมีข้อเสียคือแบตหมดไวเรากำลังพัฒนาอยู่แต่ระหว่างนี้ถ้าแบตหมดไม่ยากแวะชาร์ตที่ Starbucks สิ

สาวกล้วนเงิบแต่ก็เออใช่ ...แล้วทุกอย่างก็เป็นอย่างที่เห็น... Blackburry ตกโลก..

 

นี่แปลว่าต่อให้คุณเก่งที่สุดในโลกคุณก็อาจหายไปจากโลกได้แล้วไม่ได้มาจากใครด้วยมาจากความเชื่อของคุณเอง 

 

นี่ครับฤทธิ์เดชของความเชื่อที่ทำให้บริษัทระดับจักรวาลตกโลกในพริบตา...

เอาเรื่องการปกครอง..รวันดา...ประเทศที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์กันคนตายนับล้าน...  ว่ากันว่าคนสองเผ่าพันธ์อยู่ด้วยกันอย่างมีสันติสุขมานานนับพันปีอยู่มาก็มีการเกลียดกันจากคนไม่กี่คนแล้วก็มีการด่ากันทางสถานีวิทยุลามปามไปถึงการยุให้มีการฆ่าคนอีกเผ่าทำไปทำไมจากการพูดเริ่มมีการฆ่ากันจริงๆและลามไปถึงการฆ่ากันเป็นล้านๆขึ้นมาจริงๆน่าครับเปลี่ยนความเชื่อ...

และก็นี่อิทธิฤิทธ์ของความเชื่ออีกเปลี่ยนสันติเป็นสงครามได้ 

คุณเห็นอะไรบางอย่างไหมครับอ่านมาถึงตรงนี้

เห็นความเชื่อมันหลอกเราไหมครับเห็นว่าจริงๆคนเราเหมือนหุ่นยนต์ขนาดไหนเราทำตามโปรแกรมที่กำหนดมาโดยไม่รู้ตัว 

 

ไม่รู้พวกเราสร้างอะไรเสียหายให้กับคนไกล้ตัวที่ทำงานสังคมประเทศชาติมาขนาดไหนแล้ว ... ทั้งๆที่เราอาจเป็นคนที่แแสนดีมีความรู้สุดลึกล้ำก็ตาม

 

ผมว่าเราต้องหยุดทำ Theory U กันไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่วงอายุไหนช่วงความรู้ไหนช่วงอำนาจแบบไหน

Credit: อ.ขุนพล

 

วิธีการทำ Theory U พื้นฐาน

 

  1. จับคู่ให้อีกคนหนึ่งพูดคุณฟังให้คุยหัวข้ออะไรก็ได้ไม่ต้องเรียงลำดับอยากพูดอะไรพูดเลยความสำเร็จล้มเหลว
  2. คุณฟังฟังฟัง 
  3. ไม่ขัดจังหวะไม่ถาม 
  4. ตั้งคำถามคุณปิ๊งเรื่องอะไรที่เขาเล่าเรื่องนั้นทำให้คุณเห็นความเชื่ออะไรในตัวคุณย้อนกลับมาดูตัวคุณคุณเห็นอะไรคุณเห็นความเชื่ออะไรในตัวคุณแล้วคุณจะทำอะไรใหม่ 
  5. สร้างแผนแล้วทำจริง

 

Theory U แบบอื่นควรผ่านแบบพื้นฐานมาก่อน

  1. ทำแบบเดี่ยวฟังคนอื่น 
  2.  
  3. สังเกตปรากฏการณ์นิ่งๆแล้วรู้สึกว่าเราปิ๊งแว๊บอะไรเห็นความเชื่ออะไรในตัวเราแล้วจะทำอะไรใหม่
  4. ทำแบบกลุ่มพากันสังเกตเหตุการณ์จริงพร้อมๆกันให้เวลาสังเกตเงียบๆแล้วตั้งคำถามคุยกันหาวิสัยทัศน์ร่วมกัน 

ที่สุดแล้ว ผมว่าในเวลานี้ประเทศไทยกำลังต้องการ Theory U หรืออะไรที่ดีกว่ามากกว่ายุคไหนความเชื่อที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ไม่ผ่านการ ขัดเกลา กำลังแสดงฤทธิ์เดชฟาดหัวฟาดหาง...อยู่กันยังไงครับป่าหมดไปทุกทีอยู่กันยังไงครับ จนมากขึ้นเรื่อยๆ  อยู่กันยังไงครับยิ่งมีคนฉลาดมากเรากลับไม่กล้าไว้วางใจเรื่องการศึกษาของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อยู่กันยังไงครับ ประเทศเกษตรแต่กลับไว้วางใจอาหารที่ทานอยู่ทุกวันไม่ได้  

มันแปลกไปไหมครับ 

ถึงเวลาของ Theory U แล้วจริงๆ 

คุณล่ะคิดอย่างไร

  

บทความโดยดร.ภิญโญรัตนาพันธุ์



สงวนลิขสิทธิ์ © 2563-2568 วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 หมู่ 16 อาคารสุนทร-อารยา อรุณานนท์ชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002