ข่าว/ประกาศจากวิทยาลัย

การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ประจำปีการศึกษา 2545

ลงประกาศใน ข่าวประชาสัมพันธ์เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2546

  1. หลักการและเหตุผล
    การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)  หมายถึง การสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถของนักศึกษา ซึ่งกำหนดให้นักศึกษาในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต แผน ข ต้องสอบผ่านตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2544 ข้อ  36.2  และข้อ 37 โครงการวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบประมวลความรู้  ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 60/2544 เรื่องการสอบประมวลความรู้และการสอบวัดคุณสมบัติและจัดให้มีการสอบประมวลความรู้ขึ้นเป็นประจำทุกปี
  2. คุณสมบัติของนักศึกษาผู้มีสิทธิ์ขอสอบนักศึกษาที่มีสิทธิ์ขอสอบประมวลความรู้ได้  ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่าง ๆ ครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0
  3. ลักษณะการสอบ
    การสอบประมวลความรู้เป็นการสอบทั้งสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า โดยที่กำหนดให้นักศึกษาต้องสอบผ่านข้อเขียนก่อนจึงมีสิทธิ์เข้าสอบปากเปล่าได้
  4. การสอบข้อเขียน
    4.1 ลักษณะข้อสอบ
    เป็นกรณีศึกษาภาษาไทยที่วัดการนำทฤษฎีทางด้าน marketing finance และ management มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธุรกิจ เป็นข้อสอบสำหรับทำในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง นักศึกษาสามารถนำ ตำรา  เอกสารและเครื่องคำนวณเข้าห้องสอบได้
    4.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

    • เพื่อวัดทักษะในการ identify problems
    • เพื่อวัดทักษะในการจัดหา alternative solutions
    • เพื่อวัดทักษะในการวิเคราะห์และตัดสินใจ (analytical and selection of best alternative)
    • เพื่อวัดทักษะในการนำเสนอโดยการเขียน

    4.3 การประเมินผล
    คะแนนเฉลี่ยจากกรรมการตรวจข้อสอบแต่ละชุด (ไม่ต่ำกว่า 2 คนต่อ 1 ชุดข้อสอบ) โดยกำหนดประเด็นการพิจารณาในหัวข้อ

    • Problem identification
    • Alternative solutions
    • Analytical and Selection of best alternative
    • Skill in written presentation

    เกณฑ์การแบ่งสัดส่วนคะแนนจะขึ้นอยู่กับกรณีศึกษาและกำหนดไว้ในข้อสอบ
    4.4 เนื้อหา

    1. problem identification เนื่องจากปัญหาในกรณีศึกษาอาจมีมากกว่า 1 ข้อ ผู้สอบต้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญในกรณีศึกษาให้ได้ เขียนเป็น problem statement และระบุสาเหตุของปัญหา
    2. alternative solutions ระบุทางเลือกในการแก้ไขปัญหาตามข้อ 1 ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 โดยแสดงความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งชี้เหตุผลและอธิบายวิธีการ (Procedure / Steps) ของแต่ละทางเลือก
    3. Analytical & selection of best alternative การวิเคราะห์และการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้น ผู้สอบจะต้องทำการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทางเลือกทั้งหมดในเชิงข้อมูลปริมาณ (quantitative Information) และเชิงข้อมูลคุณภาพ (qualitative Information) ให้ชัดเจน ตลอดจนสามารถสรุปได้ว่าทางเลือกทางไหนดีที่สุด
    4. written presentation ผู้สอบจะต้อง organize การเขียนเนื้อหาสาระที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นลำดับขั้นตอน พร้อมกับเหตุผลประกอบที่ง่ายและให้ความสะดวกในการตรวจข้อสอบ

  5. การสอบปากเปล่าประมวลความรู้ประจำปีการศึกษา 2545
    5.1 ลักษณะการสอบ
    เป็นการตั้งสมมติฐานให้ผู้เข้าสอบในฐานะผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่ตนสังกัด นำเสนอปัญหาทางด้านการจัดการและวิธีการแก้ปัญหา (โดยนำทฤษฎีทางด้านการจัดการมาประยุกต์ใช้) นำเสนอต่อคณะกรรมการเป็นเวลา 15 นาที และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการอีก 15 นาที ในการนำเสนอผู้สอบอาจจัดทำ situation summary ประกอบการนำเสนอคณะกรรมการได้  ในกรอบ 1 หน้ากระดาษ (ขนาด เอ 4) และระหว่างการนำเสนอไม่อนุญาตให้ผู้สอบใช้สื่อหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น อาทิ เช่น projector / power point / notebook เป็นต้น กรณีที่ผู้สอบไม่ได้สังกัดองค์กรใด ๆ หรือไม่สามารถนำข้อมูลจากองค์กรที่สังกัดมาจัดทำการนำเสนอได้ กรณีนี้ ควรมีผลการสัมภาษณ์ประกอบการเก็บข้อมูลมาแสดงด้วย
    5.2 วัตถุประสงค์
    เพื่อวัดทักษะด้านการจัดการในการบริหารองค์กรที่คำนึงถึงวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้บริหาร ภาวะผู้นำจริยธรรมธุรกิจและการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    5.3 การประเมินผล
    วัดความสามารถในการตัดสินใจ (decision making / problem solving) การตัดสินผลโดยใช้มติเอกฉันท์ของกรรมการในกลุ่มเดียวกันS (satisfactory) หมายถึง สอบผ่านU (unsatisfactory) หมายถึง สอบไม่ผ่านนักศึกษาที่สอบประมวลความรู้ครั้งแรกไม่ผ่าน สามารถขอสอบได้อีก 1 ครั้ง นักศึกษาที่สอบประมวลความรู้ครั้งที่สองแล้วไม่ผ่าน จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2544 ข้อ 53.8กรรมการสอบปากเปล่าประมวลความรู้จะประกอบด้วย

    1. ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร 1 ท่าน
    2. ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ท่าน

    เกณฑ์ตัดสินถือเอาความเห็นร่วมกัน หากความเห็นไม่อาจสรุปได้ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยหรือรองผู้อำนวยการวิทยาลัยที่รับผิดชอบเข้าร่วมปรึกษาและสรุปความเห็น


สงวนลิขสิทธิ์ © 2563-2567 วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 หมู่ 16 อาคารสุนทร-อารยา อรุณานนท์ชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002