ข่าว/ประกาศจากวิทยาลัย

กำหนดการสอบประมวลความรู้ หลักเกณฑ์การสอบประมวลความรู้ หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต ประจำปี 2564

ลงประกาศใน ข่าวการสอบประมวลความรู้เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564

หลักเกณฑ์การจัดการสอบประมวลความรู้ หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต

  1. การสอบประมวลความรู้การสอบมีวัตถุประสงค์เพื่อ
    • วัดระดับความรู้ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทั้งในระดับพื้นฐานและการประยุกต์ใช้
    • วัดทักษะในเชิงการบริหารธุรกิจ เช่น การกำหนดประเด็นปัญหา (Ability to identify problems) หรือโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ (identify opportunities) การกำหนดหาทางเลือกในการแก้ปัญหา (Ability to propose alternative solutions) หรือแนวทางการในการพัฒนาทางธุรกิจ (guideline for business development)
    • วัดทักษะในการสื่อสาร และการนำเสนอ (Ability for Communication and Presentation)

 

  1. คุณสมบัติผู้ที่จะสอบวัดความรู้

          2.1  นักศึกษาที่จะขอสอบวัดความรู้ จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่าง ๆ ครบถ้วนตามหลักสูตรที่กำหนด

          2.2  นักศึกษาที่จะขอสอบวัดความรู้ จะต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (GPA) 

 

     3. ลักษณะการสอบ การสอบประมวลความรู้ของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์

  1. การสอบข้อเขียน

        4.1 ลักษณะการสอบ

เป็นการสอบวัดความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจ พร้อมการประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาหรือสถานการณ์

ทางธุรกิจ  ใช้เวลาสอบไม่เกิน 4 ชั่วโมง นักศึกษาสามารถนำตำราเอกสารและเครื่องคำนวณเข้าห้องสอบได้  ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบการสอบปกติของวิทยาลัย ที่ใช้ในปัจจุบัน หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

        4.2 เนื้อหาการสอบ

เนื้อหาของการสอบข้อเขียน เป็นการบูรณการความรู้ของรายวิชาในหลักสูตร ครอบคลุม 4 หมวดใหญ่ คือ

หมวดที่ 1 การบริหารองค์กรและภาวะผู้นำ ครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

ภาวะผู้นำ การบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมองค์กร การจัดการเชิงกลยุทธ์ กลยุทธ์การเจรจาต่อรองและการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางธุรกิจ จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจ  กลยุทธ์และการจัดการธุรกิจใหม่  ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ  การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเชิงนวัตกรรม  การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์   ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ  สุนทรียสาธกและการพัฒนาองค์กรเชิงบวก  ที่นักศึกษาได้เรียนและหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางธุรกิจ  การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ  การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงสมรรถนะ  การจัดการธุรกิจบริการ

หมวดที่ 2 การบริหารการจัดการด้านบัญชี การเงิน ภาษี ครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

การจัดการการตลาด การบัญชีเพื่อการจัดการ การเงินเพื่อการจัดการ  การวางแผนภาษีอากร  เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ  หลักการบัญชีพื้นฐานเพื่อการจัดการ

หมวดที่ 3 การบริหารการจัดการลูกค้าและการตลาด ครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

การจัดการ การตลาด  การจัดการการตลาดบริการ  การจัดการเชิงกลยุทธ์  การจัดการเงินชั้นสูง การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  นวัตกรรมการสร้างตราสินค้า  การสื่อสารและการส่งเสริมการตลาด เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ  ความคิดสร้างสรรค์  สุนทรียสาธกและการพัฒนาองค์กรเชิงบวก การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเชิงนวัตกรรม การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ  กลยุทธ์การเจรจาต่อรองและการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางธุรกิจ

หมวดที่ 4 การบริหารการจัดการคุณภาพ และการปฏิบัติการ ครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ  การจัดการการดำเนินการ การจัดการคุณภาพ  การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  การจัดการธุรกิจบริการ   การจัดการโลจิสติกส์  การตัดสินใจเพื่อการจัดการโดยใช้แบบจำลองเชิงปริมาณ วิธีการจัดลำดับและตารางการผลิต   การจัดการโครงการ

4.3  ลักษณะข้อสอบ

          ลักษณะของการสอบจะเป็นข้อสอบที่ใช้การถามในหลายรูปแบบ ได้แก่ การอธิบายทฤษฎี  การประยุกต์ใช้เพื่อวัดระดับความรู้ในหมวดวิชาบังคับและหมวดวิชาเลือก เพื่อวัดทักษะในการกำหนดประเด็นปัญหา (Ability to identify problems) หรือโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ (identify opportunities) เพื่อวัดทักษะในการกำหนดหาทางเลือกในการแก้ปัญหา (Ability to propose alternative solutions) หรือแนวทางการในการพัฒนาทางธุรกิจ (guideline for business development) เพื่อวัดทักษะในการวิเคราะห์และตัดสินใจ (Ability to analyze and select the best alternative) เพื่อวัดทักษะในการนำเสนอ โดยวิธีการเขียน (Ability for written presentation)  ในการสอบให้นักศึกษาทำข้อสอบทั้ง  4 หมวด ภายในระยะเวลาที่กำหนด

4.4  การประเมินผล

การประเมินผลการสอบ นักศึกษาจะต้องได้คะแนนรวมของการสอบจากทุกหมวดวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50  ของคะแนนสอบรวมทั้งหมด จึงจะถือว่าสอบผ่านข้อเขียน

5. การสอบสัมภาษณ์  

          การสอบสัมภาษณ์จะดำเนินการหลังการสอบข้อเขียน โดยผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนก่อน

        5.1  ลักษณะการสอบ

เป็นการตั้งสมมติฐานให้ผู้เข้าสอบเป็นผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบหน่วยงานที่ตนต้องการพัฒนา หรือผู้เผชิญปัญหาขององค์กรที่ตนสังกัด แล้วให้ผู้เข้าสอบนำเสนอปัญหาทางด้านการจัดการและวิธีการแก้ปัญหา หรือโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ (โดยบรูณาการทฤษฎีทางด้านบริหารจัดการมาประยุกต์ใช้) นำเสนอต่อคณะกรรมการ และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที ให้ผู้สอบจัดทำบทคัดย่อสถานการณ์จำลอง (Situation summary) ประกอบการนำเสนอต่อคณะกรรมการโดยพิมพ์ในกรอบ 1 หน้ากระดาษ (ขนาด เอ 4)  ระหว่างการนำเสนอไม่อนุญาตให้ผู้สอบใช้เครื่องมือสื่อหรืออุปกรณ์สื่อสารใดๆทั้งสิ้น  ในกรณีที่ผู้สอบไม่ได้ สังกัดองค์กรใดๆ หรือไม่สามารถนำข้อมูลจากองค์กรที่สังกัดมาจัดทำเป็นข้อมูลนำเสนอได้ให้ผู้สอบใช้ข้อมูลจากองค์กรอื่นที่สามารถจัดเตรียมมาใช้ทำการนำเสนอแทนได้

        5.2 การวัดและการประเมินผล

คณะกรรมสอบจะวัดผลโดยการวัดทักษะและความสามารถ 4 ด้านดังต่อไปนี้ คือ

                   (1)  การสื่อสารและนำเสนอด้วยการพูดที่ดี มีเหตุผล เข้าใจง่ายสอดคล้องกับคำถามของคณะกรรมการ

                   (2)  การแสดงออกถึงบุคลิกลักษณะของนักธุรกิจที่ดี ได้แก่ การแต่งกายดี ภาษากายและการควบคุมอารมณ์

                   (3)  การแสดงออกถึงการมีเป้าหมายของชีวิต (Life Purpose, IKIKAI, Your Calling) ได้อย่างชัดเจน

                   (4)  ความสามารถในการวิเคราะห์คำถาม ปัญหา สาเหตุ อย่างเป็นเหตุเป็นผล และการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

กรรมการสอบสัมภาษณ์จะร่วมกันประเมินผลการสอบ โดยให้เกณฑ์ S หรือ U 

                     S   (Satisfactory)            หมายถึง   สอบผ่าน

                     U  (Unsatisfactory)        หมายถึง   สอบไม่ผ่าน

 6. การสอบผ่านการสอบประมวลความรู้

นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบข้อเขียนโดยได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และจะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยได้ค่าคะแนนเป็น S จึงจะถือว่าสอบผ่านการสอบประมวลความรู้

 7. กำหนดการสอบ

          วิทยาลัยจะกำหนดการสอบประมวลความรู้สำหรับนักศึกษาในหลักสูตรโดยจะกำหนดการสอบปีละ 2 ครั้ง

          รอบที่ 1  (ข้อเขียน) วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564  (ปากเปล่า) วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564

          รอบที่ 2  (ข้อเขียน) วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564     (ปากเปล่า) วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2564

 8. การแต่งกาย หญิง และ ชาย สวมชุดสุภาพ หรือสูทประจำรุ่น

 



สำหรับเจ้าหน้าที่

Sign-in with KKU Account

สงวนลิขสิทธิ์ © 2563-2567 วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 หมู่ 16 อาคารสุนทร-อารยา อรุณานนท์ชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002