หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะด้านการจัดการ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ (Systematic Problem Solving) กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการบริหาร (รุ่นที่ 2)
รูปแบบของการสัมมนา การบรรยาย และการอภิปรายร่วมกัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าอบรม
- การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีความรับผิดชอบช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การสร้างทักษะช่วยในการพัฒนาทักษะ ของบุคลากร ทีมงาน เรียนรู้ในและพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ดี
- สร้างความพึงพอใจ ทำงานตามหลักการ สร้างความพึงพอใจ ไว้วางใจ ดำเนินการตามหลักการและความรับผิดชอบช่วยสร้างความไว้วางใจจากพนักงาน
วันเวลา และ สถานที่ วันที่ 7 - 8 มีนาคม 2567 (2 วัน) ณ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิทยากร : รองศาสตราจารย์กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ
- ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- รองศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรวิศวกรรมคุณภาพ)
- อดีตอาจารย์พิเศษหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แนวความคิดของหลักสูตร การบริหาร หรือการจัดการ (Management) คือ กระบวนการที่อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผลการดำเนินงานบรรจุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หรือ การประสบความสำเร็จ (Accomplishment)
ดังนั้น กระบวนการบริหารหรือการจัดการที่ดี จะต้องอาศัยการวางแผนที่ดีแล้วดำเนินการตรวจสอบหรือเฝ้าระวังว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ ถ้ากรณีมีความเบี่ยงเบนไปจากค่าเป้าหมายจะถือว่าสิ่งดังกล่าวคือ ปัญหาที่จะต้องรับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
กระบวนการแก้ไขปัญหาที่จะป้องกันการเกิดซ้ำอีก จะต้องดำเนินการวิเคราะห์ถึงสาเหตุรากเหง้า (Root causes) ภายใต้ระบบงานที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นสำคัญที่ต้องมีการเรียนรู้
- อะไรคืองานในความรับผิดชอบ (Job) ของเรา ?
- มีกระบวนการการจัดการอะไรที่จะทำให้งานในความรับผิดชอบบรรลุจุดประสงค์
- ปัญหา กับงานที่รับผิดชอบ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- ปัญหาเชิงการจัดการ แตกต่างกับปัญหาเชิงเทคนิค ประการใด
- มีแนวทางอย่างไรในการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา
- แนวคิดในการกำหนดมาตรการตอบโต้เป็นอย่างไร
- การถอดบทเรียนจากการแก้ไขปัญหา ควรดำเนินการอย่างไร
หัวข้อการเรียนรู้
1. การกำหนดหน้าที่ในงานที่รับผิดชอบ
- ผลิตภัณฑ์ – กระบวนการ - งาน
- จุดประสงค์ - เป้าหมาย -เป้าประสงค์ – KPI
- กระบวนการบริหาร (PDCA)
2. การกำหนดปัญหาจากงานที่รับผิดชอบ
- การนิยามปัญหา และประเภทของปัญหา
- ปัญหาเชิงจัดการและปัญหาเชิงเทคนิค
3. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
- การวิเคราะห์สาเหตุเบื้องต้นโดยการวิเคราะห์ความแตกต่าง
- การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า
- กระบวนการแก้ไขปัญหา (PDCA)
- การกำหนดมาตรการตอบโต้
4. กระบวนการเรียนรู้กับกระบวนการแก้ไขปัญหา
วิธีการเรียนรู้ เรียนรู้แบบ Inductive learning โดยอาศัยบทเรียนจากประสบการณ์ของผู้เรียนเพื่อการนำไปสู่หลักการ กระบวนการและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ
เหมาะสมอย่างยิ่งกับ บุคลากรระดับจัดการทั้งระดับต้นและระดับกลางที่ควรมีประสบการณ์การจัดการมาไม่ต่ำกว่า 2 ปี (ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา) ในทุกสายงาน และทุกกลุ่มธุรกิจ
หัวข้อบรรยาย
ที่
|
หัวข้อบรรยาย
|
ระยะเวลา (ชั่วโมง)
|
ผู้บรรยาย
|
1.
|
แนวความคิดโดยรวมของกระบวนการจัดการ
- กระบวนการจัดการ (PDCA)
- การกำหนดถึงดัชนีแสดง (KPI)
- การจัดทำแผนการและการทำให้เป็นมาตรฐาน (standardization)
ความสำคัญของการนิยามปัญหา
- ความหมายของคำว่า “ปัญหา” และประเภทของปัญหา
- การกำหนดปัญหาในการควบคุมและการปรับปรุง
กระบวนการโดยรวมในการแก้ไขปัญหา (PDCA)
- Correction และ Corrective action
|
7.5
|
รศ.กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ
|
2
|
การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis)
- การทำความเข้าใจกับผลการดำเนินงานและ KPI
การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (root cause analysis)
- การทำความเข้าใจกับการปฏิบัติงานและมาตรฐาน
- ประเภทของสาเหตุของปัญหา
- แนวความคิดและเครื่องมือในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
การกำหนดมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหา
- มาตรการควบคุมและมาตรการปรับปรุง
บทสรุป : การนำการแก้ปัญหาเข้าประยุกต์กับกระบวนการการจัดการ
|
6.5
|
รศ.กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ
|
รวม
|
14
|
|
วิธีการชำระค่าลงทะเบียน เมื่อกรอกข้อมูลการสมัครแล้ว ท่านจะได้รับ QR Code สำหรับนำไปชำระค่าลงทะเบียนผ่าน Internet หรือ Mobile Banking และโปรดส่งหลักฐานการชำระเงินมาที่ Line: @mbakku
ผู้ประสานงานการเงิน คุณพรชนก วรฉัตร โทร: 091-8678452 |